arrow_back หน้าหลัก

กิจกรรมแนะแนว (บูรณาการ) เรื่อง ปฐมนิเทศ เวลา 1 ชั่วโมง

ประเภท: หน่วยที่ 1 การรู้จัก เข้าใจตนเองและผู้อื่น เมื่อ 23 พฤษภาคม 2565

1. สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
ปฐมนิเทศ การชี้แจงเบื้องต้น เพื่อให้นักเรียนได้รู้เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมแนะแนว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านจิตใจ ให้เกิดความรัก ความผูกพันที่จะร่วมทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านส่วนตัวและสังคม อาชีพ และการศึกษา ภายใต้ความศรัทธา ไว้วางใจในการอยู่ร่วมกันในคาบแนะแนวตั้งแต่ต้น
2. สาระการเรียนรู้
2.1 ความสำคัญของการปฐมนิเทศ
2.2 คำอธิบายรายวิชา ก 30991 กำหนดการจัดกิจกรรมแนะแนว บูรณาการ
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 ด้านความรู้ (K)
นักเรียนบอกความหมาย/ความสำคัญ/ประโยชน์ของการปฐมนิเทศ แนะแนว
3.2 ด้านทักษะกระบวนการ (P)
นักเรียนบอกวิธีการวัดประเมินผล กิจกรรมแนะแนว
3.3 ด้านคุณลักษณะ (A)
นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมแนะแนว
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................
คำชี้แจง : ให้นักเรียนดำเนินการเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้

4. กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ขั้นนำ
4.1 นักเรียนศึกษาความหมายและความสำคัญของการปฐมนิเทศ จากสาระสำคัญด้านในหัวข้อที่ 1
ขั้นดำเนินกิจกรรม
4.2 นักเรียนศึกษาบทบาทหน้าที่ ของงานแนะแนว โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จาก วิดิทัศน์ เรื่อง งานแนะแนว โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ที่ https://www.youtube.com/watch?v=QEgi320gXL8
4.3 นักเรียนศึกษาคำอธิบายรายวิชา แนะแนว ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากสไลด์ นำเสนอ "คำอธิบายรายวิชา แนะแนว ม.6 65" ที่ https://docs.google.com/presentation/d/1xm0eD2OCUNqmB1ayvXZ2g--nBfJnFN7C/edit?usp=sharing&ouid=100380045177881829977&rtpof=true&sd=true
ขั้นสรุป
4.4 นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้ ในสมุดแนะแนวของนักเรียน เช่น การจัดบริการแนะแนว รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว ช่องทางการเรียนรู้ การวัดประเมินผล ฯลฯ
5. การวัดและประเมินผล / เกณฑ์การวัดประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
1.การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ในสมุดแนะแนว /ตรวจ /มี = ผ่าน